ตั้งใจจะไปไหว้พระใหญ่ที่เมืองคามาคุระค่ะ
พระใหญ่คามาคุระถูกจัดเป็นสมบัติแห่งชาติของประเทศญี่ปุ่น
เกร็ดเล็กน้อยที่ได้ยินกันว่า พระใหญ่ไดบุทสึ แปลว่าอะไร
ไดบุทสึ (Daibutsu) ภาษาญี่ปุ่นแปลว่า พระพุทธรูปขนาดใหญ่
เริ่มเดินทางจากในโตเกียว สถานีรถไฟชินจูกุ (Shinjuku Station)
ตั๋วโอดาคิวอีโนชิมะคามาคุระ (Odakyu Enoshima Kamakura Free Pass)
เป็นตั๋วแบบ 1 วันเที่ยวได้ไม่จำกัด (one day pass)
ของบริษัทรถไฟ Odakyu Railways
ซี่งครอบคลุมค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้
ค่าโดยสารรถไฟ Odakyu ไปกลับระหว่าง Tokyo กับ Fujisawa
สามารถโดยสารรถไฟ Enoden และ Odakyu ในพื้นที่ Kamakura/Enoshima
ได้โดยไม่จำกัดครั้ง
สถานที่จำหน่าย: สถานีรถไฟฟ้าของ Odakyu railway ทุกแห่ง
เช่น สถานีรถไฟ Shinjuku Station ใจกลางเมืองโตเกียว
ราคาสำหรับผู้ใหญ่ ¥1,470
อันนี้ลงผิดสถานี แต่ก็โอเคได้เห็นวิวทะเล
ไหนๆ ลงผิดสถานีแล้ว แวะถ่ายรูปเล่นก่อน
ดักถามคนญี่ปุ่นที่เดินผ่านมา เพราะไม่มีนายสถานีค่ะ
มีแต่ตู้ซื้อตั๋วอัตโนมัติตั้งอยู่ เค้าให้ขึ้นรถรางค่ะ
เป็นรถราง Enoden Line ข้างนอกคันสีเขียวค่ะ
ลงที่สถานีฮาเสะ (Hase Station)
อันนี้ไม่เสียเงินเพิ่มเพราะเราซื้อตั๋วแบบ 1 วันเที่ยวได้ไม่จำกัด
เดินๆ ประมาณ 300-400 เมตรจะถึงวัด จะมีทั้งนักท่องเที่ยวญี่ปุ่น
นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินตามๆ กันมาเต็มถนนสองข้างทาง
ดูจำนวนคนซะก่อน อันนี้คือมาวันเสาร์ค่ะ คนเลยเยอะหน่อย
ประวัติของวัดโคโตคุอิน (Kotoku-in Temple)
พระใหญ่มีความสูงถึง 13.35 เมตร น้ำหนัก 122 ตัน (รวมฐาน)
เป็นพระพุทธรูปที่ใหญ่เป็นอันดับสองในญี่ปุ่นเป็นรองจาก
ไดบุทสึแห่งนาระ ประดิษฐานอยู่ที่วัดโทได (Todai Temple) เมืองนารา (Nara)
ซึ่งมีความสูงรวม 16 เมตร และเป็นต้นแบบของไดบุทสึแห่งคามาคุระ
เดิมองค์พระใหญ่นั้นแกะสลักมาจากไม้ มีความสูงถึง 24 เมตร
ประดิษฐานในวิหารแต่เมื่อพายุใต้ฝุ่นพัดผ่านคามาคุระ
ทำให้วิหารกับพระใหญ่ได้รับความเสียหายเกินกว่าจะซ่อมแซมได้
หลวงพ่อโจโคะ (Joko) เดินทางไปทั่วญี่ปุ่นเพื่อรับบริจาคเงิน
และเปลี่ยนมาใช้สำริดเป็นวัตถุดิบเหมือนกับพระใหญ่ที่เมืองนาระ
พระใหญ่สร้างจากสำริด และทองแดง โดยช่างฝีมือดี
ที่เห็นองค์พระเป็นสีเขียวเป็นเพราะว่าเกิดปฏิกริยาทางเคมี
ทำปฏิกิริยากับอากาศที่มีทั้งฝนและหิมะ
เกิดออกไซด์ของโลหะที่สะสมมาเป็นเวลานานจนองค์พระเป็นสีเขียว
ในการสร้างไดบุทสึองค์ใหม่ สร้างเสร็จในปี ค.ศ.1252
ในตอนแรกนั้นพระพุทธรูปอยู่ในห้องโถงของวัด
แต่ได้รับความเสียหายหลายครั้งจากไต้ฝุ่น และแผ่นดินไหวหลายครั้ง
และเสียหายมากที่สุดจากเหตุการณ์สึนามิ เมื่อปี 1495
ซึ่งเหตุการณ์นั้นทำให้อาคารวัดพังทลายหายไป
เหลือเพียงแต่องค์พระใหญ่ตั้งอยู่ท่ามกลางซากปรักหักพัง
สร้างความประหลาดใจ และเกิดเลื่อมใสในความศักดิ์สิทธิ์ของท่าน
นับแต่นั้นไม่ได้มีการบูรณะสร้างอาคารครอบองค์พระอีก
ปัจจุบันพระใหญ่ไดบุตซึจึงได้ตั้งอยู่กลางแจ้ง
ถ้าสังเกตจะเห็นรอยเชื่อมโลหะทั้ง 8 ชิ้นบนองค์พระพุทธรูป
เห็นพระพุทธรูปมีขนาดใหญ่ แต่จริงๆ แล้วด้านในกลวง
มีหน้าต่างระบายอากาศที่ด้านหลังองค์พระ
จากรูปด้านบน มุมล่างขวาจะมีจุดให้คนเข้าไปดูข้างในองค์พระได้
ค่าธรรมเนียม 20 บาทสำหรับเข้าไปดูองค์พระ
มีคำอธิบายการต่อประกอบองค์พระ
ท่านที่เคยไปวัดญี่ปุ่นอาจจะเคยเห็นรองเท้าฟางอยู่บ่อยๆ
หลายๆ วัดจะมีรองเท้าฟางขนาดใหญ่แขวนอยู่
ถ้าถามว่ารองเท้าฟางมีความสำคัญอย่างไร
เลยไปตามหาประวัติของรองเท้าฟางมาให้ค่ะ
มีประเพณีอันยาวนานของการเสนอรองเท้าแตะฟางให้กับวัดและศาลเจ้า
รองเท้าทอฟางน่าจะมีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 9 จนกระทั่งถึงศตวรรษที่ 20
อ้างอิงจากสเคียวโกะอิชิดะของพิพิธภัณฑ์รองเท้าญี่ปุ่นในจังหวัดฮิโรชิมา
รองเท้าฟางตามวัดญี่ปุ่น เรียกว่า waraji (วะระจิ)
จะทอให้แน่นใช้เพื่อการทำงานและการเดินทาง ต่างจากการใช้ในชีวิตประจำวัน
ถึงจุดหนึ่งผู้คนเริ่มมอบรองเท้าฟางเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสวดอ้อนวอน
โดยหลักจะขอพรให้เดินทางปลอดภัย
และขอพรเกี่ยวกับสุขภาพร่างกายส่วนล่างโดยเฉพาะขา
ขาที่แข็งแรงเป็นสิ่งที่สำคัญมากในสมัยนั้น
รองเท้าฟางที่ขึ้นชื่อเรื่องความใหญ่จะอยู่ที่วัดเซ็นโซจิ (Sensoji Temple) ในโตเกียว
แต่รองเท้าฟางที่ใหญ่ที่สุดอยู่ที่เมืองฟุกุชิมะ
มีการจัดเทศกาลรองเท้าฟางในวันศุกร์และวันเสาร์แรกในเดือนสิงหาคมของทุกปี
เวลาเปิดให้บริการ 8:30 ถึง 17:30 (เข้าก่อนเวลา 17:15)
เปิดตลอดทั้งปี ค่าเข้าชมผู้ใหญ่ 200 เยน
การเดินทาง
จากโตเกียว สถานี Tokyo ถึง สถานี Kamakura โดย JR line 1 ชั่วโมง
สถานี Kamakura ถึง สถานี Hase โดย Enoshima Electric Railway 5 นาที
เดินจากสถานี Hase (Enoden railway line) ถึงวัดใช้เวลาประมาณ 5 ถึง 10 นาที
ข้อมูลอ้างอิง
รีวิว เที่ยวญี่ปุ่น - ขากลับจากไหว้พระใหญ่ คามาคุระ ไปสถานีรถไฟฮาเสะ
คลิกอ่านที่นี่
รีวิว เที่ยวญี่ปุ่น - ร้านกาแฟอิโดบาตะ คามาคุระ ระหว่างทางไปสถานีรถไฟฮาเสะ
คลิกอ่านที่นี่
รีวิว เที่ยวญี่ปุ่น - ร้านแครกเกอร์ปลาหมึกกรอบ คามาคุระ ระหว่างทางไปสถานีรถไฟฮาเสะ
คลิกอ่านที่นี่
*CR หรือ Customer Review คือ ผู้บริโภคจ่ายเงินเองแล้วมาเขียนรีวิวค่ะ
Ⓒ สงวนลิขสิทธิ์ ไม่อนุญาตให้นำรูปหรือข้อความในบล็อกนี้ไปใช้